โลหิตจาง หรือที่เรียกันว่าโรคซีด เกิดจากภาวะที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาการแสดงออกต่างกัน หลายคนตรวจเจอจากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยที่ไม่มีอาการแสดงมาก่อน ภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ หากสงสัยว่าเป็นหรือตรวจพบควรไปพบแพย์เพื่อรักษา
โลหิตจาง คืออะไร
ภาวะโลหิตจาง (Anemia) หรือภาวะซีด เป็นภาวะที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลิตออกซิเจนได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ภาวะนี้พบได้บ่อยในบุคคลทั่วไป โดยอาการแสดงอาจมากหรือน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับเม็ดเลือดแดงในร่างกายและความสามารถในการปรับตัวของแต่ละคน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเกณฑ์วินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเลือดเป็นตัวเลข ดังนี้
- ต่ำกว่า 12 g/dL ในผู้หญิง
- ต่ำกว่า 13 g/dL ในผู้ชาย
- ต่ำกว่า 11 g/dL ในผู้หญิงตั้งครรภ์
ทั้งนี้ภาวะโลหิตจางไม่ถือเป็นโรค แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้จากหลายโรค หลายภาวะ เนื่องจากในร่างกายของเรามีปัจจัยหลายอย่างในการช่วยกันควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงให้ออกมาในระบบหมุนเวียนโลหิตในปริมาณที่สมดุลเพียงพอ
อาการของภาวะโลหิตจาง
โดยปกติแล้วในร่างกายของคนเรา จะมีฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงที่เป็นตัวนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจึงมีอาการผิดปกติจากการที่เนื้อเยื่อต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาการส่วนมากคือ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยเวลาออกแรง วูบ หน้ามืด เวียนศีรษะ ง่วงนอนมากกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เจ็บหน้าอก เล็บเปราะง่าย ผมร่วง ผิวแห้ง ตัวซีด เป็นต้น
ถ้าโลหิตจางมากๆ คือระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 5 g/dL อาจจะกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจวาย (Heart failure) ได้ เนื่องจากหัวใจจะทำงานหนักขึ้นในการปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย จนสุดท้ายหัวใจทำงานไม่ไหว ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดตามมาได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง ทั้งนี้ขึ้นกับความเฉียบพลันในการเกิดภาวะด้วย ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะโลหิตจางอย่างเฉียบพลัน เช่น มีการสูญเสียเลือดในปริมาณมากในเวลาอันสั้น จะมีอาการชัดเจนและรุนแรงกว่าคนที่มีภาวะโลหิตจางเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานๆ เนื่องจากในกลุ่มที่เกิดแบบเรื้อรัง ร่างกายจะปรับสภาพจนทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนมีภาวะโลหิตจางอยู่
สาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจาง
เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดย สามารถแบ่งออกได้เป็นสาเหตุหลักๆ ได้ดังนี้
1) การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งมีปัจจัยมาจาก
- การขาดสารอาหาร ได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะการขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือกรดโฟลิค
- ภาวะโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังบางชนิดหรือการรักษาโรคเรื้อรัง อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคไตวายเรื้อรัง โรค HIV โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
- การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรก เนื่องจากการขาดสารอาหารประเภทธาตุเหล็กและกรดโฟลิก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเลือด
- โรคเกี่ยวกับไขกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดในไขกระดูก เป็นต้น
2) การทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติในร่างกาย เป็นผลมาจากการติดเชื้อ หรือโรคในกลุ่มที่เป็นสาเหตุให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรืออาการดีซ่าน ร่วมด้วย เช่น
- โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemias) เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อย
- รูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (Sickle Cell Anemia)
- การติดเชื้อบางชนิด เช่น มาลาเรีย คลอสติเดียม มัยโค พลาสมา เป็นต้น
3) การสูญเสียเลือดอย่างฉับพลัน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การตกเลือด ภาวะเลือดหลังคลอดบุตร หรืออาจค่อยๆ เสียเลือดเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยที่เสียเลือดเรื้อรัง ก็จะมักจะทำให้มีการขาดธาตุเหล็กตามมาด้วย การสูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น สียเลือดทางประจำเดือนในผู้หญิง เสียเลือดในทางเดินอาหารในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
อาการที่เสี่ยงเป็นโลหิตจาง
- เบื่ออาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- ตัวซีดเหลือง อย่างเห็นได้ชัด
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- หายใจลำบากขณะออกแรง
- มึนงง วิงเวียนศีรษะ
- เจ็บหน้าอก ใจสั่น
- หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลว
- หากมีอาการเรื้อรัง อาจพบอาการมุมปากเปื่อย เล็บมีลักษณะอ่อนแอและแบน หรือเล็บเงยขึ้นมีแอ่งตรงกลางคล้ายช้อน
ไม่อยากเป็นโลหิตจางควรปฏิบัติตัวอย่างไร
- เลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามิน และสารอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู นม ไข่ เลือดหมู ธัญพืช โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ทารก และวัยรุ่น
- รับประทานวิตามินเสริมโดยขอคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหาร
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยโฟลิค และธาตุเหล็ก เช่น ปลา เนื้อแดงไร้ไขมัน ไข่ ถั่ว และผักใบเขียว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง และอาจรับประทานวิตามินเสริม โฟลิค และธาตุเหล็ก เพื่อช่วยรักษาระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อแนะนำการรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมใดๆ ก่อนเสมอ
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงการส่งต่อทางพันธุกรรม
ยาบำรุงเลือดเหมาะสำหรับภาวะโลหิตจาง
การรับประทานยาบำรุงเลือด มีข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในทางการแพทย์จะใช้สำหรับป้องกันและรักษา นอกจากนี้ยาบำรุงเลือดยังสามารถใช้ในผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกายโดยรวมให้แข็งแรงสมบรูณ์มากขึ้น
1. ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง(Anemia) สาเหตุนี้จะพบมากที่สุด ซึ่งเกิดจากร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง เนื่องจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก, วิตามินบี 12, กรดโฟลิค ในการผลิตเม็ดเลือดให้สมบรูณ์
2. ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ หรือตั้งครรถ์ เพื่อช่วยสร้างเนื้อเยื่อของลูกในครรภ์ สร้างเซลล์ประสาทสมอง ลดความพิการแต่กำเนิด
3. ผู้ที่บริจาคเลือด หรือผู้ที่เกิดการอุบัติเหตุ การกินยาบำรุงเลือดจะเสริมธาตุเหล็ก และช่วยให้ร่างกายกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดให้สมบูรณ์และแข็งแรงมากขึ้น
4. ผู้ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจมามากหรือมาน้อย เช่นวัยเจริญพันธุ์หรือวัยทอง
5. ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียน ตัวซีด ไม่มีแรง
6. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับไขกระดูก หรือโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะของโรคเหล่านี้ส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยกว่าปกติ
ประโยชน์ของยาบำรุงเลือด
1. ช่วยให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดใหม่ได้สมบูรณ์แข็งแรง บำรุงโลหิต
2. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย อ่อนล่าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และสูงอายุหรือคนทั่วไป
4. ช่วยบำรุงร่างกายและส่งเสริมการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
5. ช่วยลดภาวะซีดจากผู้ที่เป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
หากสงสัยว่ามีอาการของภาวะโลหิตจาง ควรไปปรึกษาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสุขภาพร่างกาย และตรวจวินิจฉัยว่าอาการดังกล่าว ในบางครั้งอาจตรวจพบโรคร้ายแรงที่แฝงอยู่ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สำหรับการรักษาภาวะโลหิตจาง โดยทั่วไปการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ และสาเหตุของอาการ ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ และรับการรักษาที่สาเหตุนั้นๆ
เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- เครียดลงกระเพาะ โรคที่สามารถป้องกันการเกิดขึ้นได้
- ต้อหิน เป็นแล้วไม่รักษาอาจสูญเสียการมองเห็นได้
- โรคเชื้อราที่เล็บ มีอาการอย่างไร และสามารถรักษาให้หายหรือไม่
- อาการวูบหมดสติ ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ควรหมั่นตรวจสุขภาพ
ที่มาของบทความ
- https://www.sikarin.com
- https://www.phyathai.com
- https://www.megawecare.co.th
- https://www.istockphoto.com
- https://health.kapook.com
ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ gamehall369.com
สนับสนุนโดย ufabet369